Monday, May 23, 2011

Biography


I was born in Thailand. I began playing guiar at church at the age of 15th


When my son was 4th years old. I sent him to take guitar lessons. I could not find a small guitar for him, so I decided to copy my guitar to smaller size. But the guitar did not work because it was not in tune. Now my son is 15th years old, I had a good time to teach him to make his own guitar.


With a deep love for the acoustic guitar, I began building under the guidance of Karl-Heinz Roemmich and Yuichi Imai. In 2005, I attended a course held by Jose Luis Romanillos and his son, Liam on traditional Spanish technique.


I became a full-time guitar maker. I really enjoy working with musicians to turn beautiful wood into beautiful music. And now I have nearly 30 students so that the guitar-building society has grown in Thailand. Together, we exchange experience, supply material, and join in guitar festivals in Thailand.


My guitars are recognized internationally. Every year my guitars are given to the first-prize winner of a Classical Guitar festival in Thailand, and once in Italy.


My Steel String guitars are also well known in Thailand. Many of my collegues and clients have referenced my guitars for their deep tone, good balance and sweet sound.


Wiroon Songbundit building guitars since 1998. He began his work under the guidance of Karl-Heinz Roemmich and Yuichi Imai , world famous classical guitar luthiers from Germany and Japan. In 2005 he went to Spain for a Spanish technique course with Louis Jose Romanillos and his son.


He has been invited from many international guitars to be sponsor for the first prize in international guitar competition such as Thailand , Italy , Russia , Israel etc. He also has been interviewed from many television, radio and magazine.


Now he is the president of Thai luthier Exchange experiences to develop acoustic guitar to International level. Now his guitars are exported in many countries; Asia, Europe and USA .


“ Is beautiful sound and warm tone ……”


(Nutavut Ratanakarn , International Guitarist)

Thai News from www.manager.co.th

มีหลายคนชอบฟังดนตรีจนกระทั่งกลายเป็นนักฟังเพลงตัวยง แต่มีไม่มากนักที่หลงใหลดนตรีมากจนถึงขั้นที่จะเปลี่ยนสถานะจากคนฟังมาเป็นคนเล่นเสียเอง และในจำนวนนี้ ก็มีน้อยยิ่งกว่าน้อยที่หมกมุ่นกับดนตรีจนทำให้ตัดสินใจก้าวล่วงเข้าสู่บทบาทของคนทำเครื่องดนตรี วิรุฬห์ ทรงบรรดิษฐ์ เป็นหนึ่งในคนจำพวกหลัง

ถ้าหากจะกล่าวถึงชื่อของ วิรุฬห์ ทรงบรรดิษฐ์ หรือ ช่างนิด แน่นอนว่าคนทั่วไปอาจจะไม่เคยได้ยิน แต่ในแวดวงของนักดนตรี โดยเฉพาะเหล่าบรรดามือกีตาร์อคูสติก ชื่อของช่างนิดนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่าง กว้างขวาง ในฐานะคนทำกีตาร์แฮนด์เมคอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งกีตาร์แต่ละตัวที่ช่างนิดบรรจงสร้างสรรค์ออกมานั้น ล้วนจัดเป็นกีตาร์ระดับสูงที่มีเสียง และความสวยงามเท่าเทียมกับกีตาร์แบรนด์ด้งระดับโลกได้อย่างสบายๆ

ราคาค่าฝีมือของช่างนิดนั้น ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นที่เลยครึ่งแสน ไปจนถึงระดับแสนกว่าบาทต่องานหนึ่งชิ้น แต่สำหรับนักดนตรีมืออาชีพแล้ว ถือว่าไม่แพงเลย ถ้าเที่ยบกับสิ่งที่พวกเขาได้รับจากกีตาร์ฝีมือช่างนิด



1.

ในครอบครัวคริสเตียนเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เด็กชาย วิรุฬห์ ได้ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเสียงเพลงและการเล่นดนตรี

"ผมชอบเล่นกีตาร์มาตั้งแต่เด็กแล้วครับ เพราะว่าผมเป็นคริสเตียน ดังนั้นผมก็เติบโตมากับดนตรี ตลอดทั้งการร้องเพลง ทั้งเล่นดนตรี แต่ผมจะพิเศษกว่านิดนึงตรงที่ชอบกีตาร์ ทั้งในแง่ที่มันสวย และในมิติที่มันเป็นเครื่องดนตรี คือ กีตาร์ของผมตั้งแต่ที่ได้มาตัวแรกนี่ แทบจะไม่มีรอยเลย ไม่เหมือนเพื่อนๆ คนอื่นๆ ของเราที่เล่นกีตาร์แล้วไม่รักษา เล่นแล้วทิ้งๆ ขว้างๆ"

ถึงแม้ว่ากีตาร์ตัวแรกของวิรุฬห์ จะไม่ใช่กีตาร์ของดีราคาแพง (ความจริงแล้วเป็นกีตาร์ระดับล่าง ที่มีคนให้มาด้วยซ้ำ) แต่เขาก็ดูแลรักษาและทะนุถนอมมันเป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากกิจกรรมในวัยเด็กของเขาจะเป็นเรื่องของการเล่นดนตรีแล้ว อีกกิจกรรมหนึ่งที่เขานิยมชมชอบ ก็คือเรื่องราวของการประดิษฐ์ และการทำงานฝีมือ

"ผมก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ แหล่ะ ที่นอกจากจะเล่นดนตรีแล้ว ก็ยังมีการเล่นของเล่นอื่นๆ ด้วย แต่ของเล่นที่ผมเล่นส่วนใหญ่จะเป็นของเล่นที่ทำเองนะ คือลงมือประดิษฐ์เองเลย"

ซึ่งการเป็นคนที่ชอบสร้างชอบประดิษฐ์ในวัยเด็กของเขานั้น ก็นับเป็นแรงผลักดันอีกส่วนที่ทำให้เขากลายเป็นคนทำกีตาร์ที่มีชื่อเสียงของบ้านเราในวันนี้



2.

เมื่อชีวิตวัยเด็กของวิรุฬห์ ได้ผ่านพ้นไป เขาก็ได้เข้ามาศึกษาต่อยังคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งตอนนั้นเขาก็ยังเล่นดนตรีอยู่เสมอมา แต่ทว่าในหัวของเขายังไม่มีเรื่องราวของการทำกีตาร์อยู่ในนั้นเลย

"ตอนปีสุดท้ายที่ผมเรียน ม.กรุงเทพ ผมก็ทำงานแล้วนะ โดยเปิดศูนย์ถ่ายเอกสารที่หน้ามหาวิทยาลัย ซึ่งกิจการมันไปได้ดีมากๆ เพราะสมัยก่อนนักศึกษาต้องพึ่งการถ่ายเอกสารทั้งหมด ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตเหมือนอย่างทุกวันนี้ แต่พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ขึ้น ผมก็ต้องเลิกกิจการไป"

หลังจากร้านถ่ายเอกสารของเขาเลิกกิจการ วิรุฬห์ก็ต้องดิ้นรนหางานทำเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แต่เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้หนทางการหาเลี้ยงชีพด้วยวิชาการบริหารที่เขาร่ำเรียนมานั้นแคบลงอย่างน่าใจหาย สุดท้ายเขาก็ต้องเลือกเดินบนเส้นทางของการเป็นช่างรับเหมาก่อสร้าง

แต่เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจทำให้วิรุฬห์นั้นเป็นทั้งช่างรับเหมาและคนงานในเวลาเดียวกัน โดยงานที่เขาทำมีตั้งแต่รับจ้างทาสี ทำงานปูน ทำงานไม้ และทำเฟอร์นิเจอร์ โดยตัวเขาเองนั้นถนัดด้านงานไม้เป็นพิเศษ แต่สุดท้ายอาชีพช่างรับเหมาของเขาก็สร้างรายได้ให้กับเขาเพียงพอที่จะมีครอบครัว และสามารถที่จะเลี้ยงดูลูกชายของตนได้

ในช่วงนั้น เขามักจะรำพึงรำพันกับตัวเองเสมอว่า เราจะต้องทำงานแบบนี้ไปจนตายเลยหรือ?



3.

จนเมื่อลูกชายของเขาอายุได้ 5 ขวบ เลือดรักดนตรีที่ได้มาจากวิรุฬห์ ซึ่งเป็นพ่อ ก็ได้ไหลเวียนไปทั่วร่าง ทำให้วิรุฬห์ต้องจัดการหาโรงเรียนดนตรีให้กับลูกชายซึ่งต้องการที่จะเล่นดนตรีเหมือนพ่อ และนั่นก็ทำให้เส้นทางของการเป็นคนรักกีตาร์และเส้นทางของช่างไม้มืออาชีพเดินทางมาบรรจบกัน

"ตอนนั้นลูกชายผม ต้องการจะเรียนกีตาร์ ผมก็หากีตาร์ตัวเล็กให้เขาใช้เรียนไม่ได้ มันไม่มีขาย มีแต่ตัวใหญ่ ซึ่งครูเขาบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็สอนไม่ได้หรอก ตัวเราเองเป็นช่างไม้อยู่แล้ว ก็คิดว่ามันน่าจะทำเองได้ไม่ยาก ดังนั้นผมก็ลงมือทำเลย แต่ออกมาแล้วมันเล่นไม่ได้เลยนะ (หัวเราะ) เพราะสเกลเสียงมันไม่ได้ คือเราวัดจากกีตาร์ตัวใหญ่แล้วมาย่อลงดื้อๆ เลย จริงๆ ก็เล่นได้ในระดับหนึ่งแหละ แต่ผมอยากจะทำให้ได้ดีกว่านี้"

"ดังนั้นผมเลยสั่งหนังสือที่สอนทำกีตาร์จากเมืองนอกมาหัดทำ ทำจนมันพอเล่นได้ ทีนี้พอผมทำตัวที่ 2 ตัวที่ 3 ออกมา ก็มีคนมาเห็น เขาก็อยากให้ทำกีตาร์สำหรับลูกๆ ของพวกเขาบ้าง ผมก็เลยรับทำแต่กีตาร์ตัวเล็กเรื่อยมาก"

เมื่อวิรุฬห์ รู้ว่าตนเองชอบที่จะทำกีต้าร์ เขาก็อยากพัฒนาฝีมือตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวิธีการของเขานั้นก็มีทั้งไปดูกีตาร์ดีๆ ของเมืองนอกที่ร้านขายเครื่องดนตรี เอามือไปล้วงดูว่าเขามีการวางโครงสร้างลำตัว อย่างไร ต่อมาเขาก็ไปเรียนวิชาทำกีตาร์กับอาจารย์รักษ์ ชิงสกล ซึ่งถือว่าเป็นช่างทำกีตาร์ชาวไทยคนแรกๆ และพอเขาทำได้ดีในระดับหนึ่ง วิรุฬห์ ก็มีโอกาสได้รู้จักช่างทำกีตาร์ชาวต่างประเทศหลายๆ คนที่แวะเวียนมายังเมืองไทย

"พวกเขารู้ว่าเราเป็นช่างทำกีตาร์ เขาก็จะมาเยี่ยมที่ชอปของเรา ทีนี้เขาเห็นเราทำยังไม่เก่ง เขาสงสารเรา เขาก็สอนเราเพิ่มนะ แล้วก็ช่วยหาวัตถุดีๆ มาให้เรา เพราะแต่ก่อนนี้ผมไปซื้อไม้ที่คลองเตยมาเลย ซึ่งคุณภาพไม้และอายุของมันยังเอามาทำชิ้นงานไม่ได้"



4.

ล่าสุด วิรุฬห์ ได้มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อกับ โฮซ โรมานิรอส (Jose Romanillos) นักทำกีตาร์แฮนด์เมคระดับท๊อปเทนของโลกชาวสเปน ผู้ที่รับศิษย์จากทั่วโลกเพียงปีละ 20 คนเท่านั้น ก็เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการทำกีตาร์ของตน

"คือคนเราถ้าเก่งแล้วก็ยังต้องออกไปเรียนกับคนที่เก่งกว่าเรา เราก็เดินทางไปสเปน โดยไปเรียนกับ โฮเซ่ โรมานิรอส ซึ่งเป็นมืออันดับต้นๆ ของโลก ที่ทำกีตาร์แฮนด์เมคราคาตัวละเป็นล้าน ซึ่งเขาสามารถรับศิษย์ได้เพียงปีละ 20 คนเท่านั้น และ 20 คนนี้จะต้องเป็นช่างทำกีตาร์อยู่แล้วนะ บางคนก็เป็นคนที่มีชื่อเสียงขนาดมีหนังสือสอนทำกีตาร์ตัวเองก็มี บางคนทำมา 20 กว่าปีแล้วก็ยังมาเรียนเลย ซึ่งสิ่งที่ได้มานั้นถือว่าเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องของการจูนไม้หน้า"

"ที่ โฮเซ สอนนี่ จะสอนเรื่องการจูนไม้หน้าโดยเฉพาะ เป็นส่วนสำคัญในการทำเสียงให้ดี เพราะไม้หน้านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือจะเอาจริงๆ แล้วช่างทำเฟอร์นิเจอร์ทุกคนทำกีตาร์ได้ทั้งนั้นแหละ แต่เสียงที่ออกมานี่จะดีหรือไม่ดีนั้น มันขึ้นอยู่กับไม้หน้านั่นเอง"

มาถึงวันนี้ ถึงแม้ว่า วิรุฬห์ จะขึ้นชั้นช่างทำกีตาร์แฮนด์เมคระดับต้นของเมืองไทยไปแล้ว แต่เขาก็ยังคงตั้งใจทำงานให้ดีที่สุดเสมอมา ทั้งนี้ก็เพื่อตัวของเขาเอง

"สิ่งที่เรากลัวที่สุดคืองานออกมาไม่ดี ทุกวันนี้คนที่ต้องการเหยียบเราขึ้นไปนั้นมีอยู่ เราจะพลาดไม่ได้ ต้องทำให้ดีที่สุด เพราะกีตาร์ที่ดีจะโฆษณาตัวเอง ถ้าเราทำตัวที่ไม่ดีออกไปคนเล่นเขารู้ว่าไม่ดี ก็จะบอกกันไปปากต่อปาก สุดท้ายก็จบกัน"

เป้าหมายต่อไปของวิรุฬห์ ก็คือการนำกีตาร์แฮนด์เมดเมืองไทยไปบุกตลาดโลก ซึ่งที่ผ่านมา มีแนวโน้มหลายอย่าง บ่งชี้ว่าความฝันของวิรุฬห์ นั้น ไม่ใช่เรื่องลมๆ แล้งๆ

"จริงๆ ผมเป็นคนที่ทำมาหลายอาชีพ ซึ่งเมื่อก่อนผมจะคิดเสมอนะ ว่าเราจะทำงานนี้ไปจนตายเลยหรือ แต่พอได้มาทำกีตาร์ ผมก็รู้ได้เลยว่าผมสามารถจะอยู่กับมันไปจนตายได้เลย"

..............................................................................................................................

เรื่อง : เอกชาติ ใจเพชร

ภาพ : ธนารักษ์ คุณทน

ที่มาจาก : http://www.manager.co.th/

VDO : Adventures by GuitarSiam



Linl VDO : http://vimeo.com/23467661




Credit by : GuitarSiam, http://www.vimeo.com/